โฮจิมินห๋ ถนนทุกสายล้วนมีต้นไม้

โฮจิมินห์
City of Trees แห่งอุษาคเนย์
🌳🌳🌳🌳🌳
ถนนทุกสายล้วนมีต้นไม้
🇻🇳

โฮจิมินห์

ถูกวางผังเมืองและออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเจาะลงตัว และด้วยความที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้มีกลิ่นอายของทางตะวันตกอยู่มาก การดีไซน์เมืองของโฮจิมินห์เหมือนหลาย ๆ เมืองในยุโรปมีการแบ่งโซนเมืองเป็นเขตต่าง ๆ แต่ละย่านถูกวางให้เชื่อมเข้าหากันเป็นบล็อก ๆ ถนนทุกสายบรรจบกันเป็นสี่แยกที่เชื่อมโยงถึงกันวิ่งตรงเข้าสู่ศูนย์กลางของเมือง แม้การจราจรจะติดขัด แต่ก็ถือว่ายังมีความคล่องตัวสูง เพราะมีรถยนต์ค่อนข้างน้อย

ถนนถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี มีฟุตปาทหรือทางเดินเท้ากว้างขวาง บนฟุตปาทมีต้นไม้ใหญ่อายุนับ 100 ปีเป็นร่มเงาแสนร่มรื่นตลอดสองฝั่งถนนทุกสาย และสิ่งดี ๆ อีกหนึ่งสิ่งที่ซ่อนอยู่ในเมืองนี้ก็คือ การมีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะจำนวนมากใจกลางเมืองในทุก ๆ ย่านสำคัญ

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ท่องเที่ยว

ฉลากโภชนาการ GDA อ่านอย่างไร เมิ่อซื้ออาหารประเภทนม น้ำผลไม้

…ฉลากโภชนาการแบบ GDA อ่านง่ายได้ประโยชน์
ฉลากโภชนาการ GDA มีประโยชน์ทำให้เราทราบถึงปริมาณพลังงานที่เหมาะสม เป็นตัวช่วยในการเลือกอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานได้ในช่วงที่ต้องการลดน้ำหนัก และควบคุมพลังงาน และยังสามารถช่วยให้เราเลือกอาหารได้ตามความต้องการของร่างหายอีกด้วย

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under อาหารไทย

พรรณไม้ไทย

ราชินี แห่งป่างาม นามกล้วยไม้ แลวิไล งามเด่น เป็นศักดิ์ศรี

กลิ่นขจร ดอกงาม ยามสุรีย์ แม้นราตรี ก็งดงาม ยามเย้ายล

ช่อช้างกระ ช้างพลาย เอื้องสายหลวง ประทับทรวง หอมไป ทั่วไพรสน

ช่อช้างเผือก ช้างแดง แข่งสุคนธ์ สิกุคน อั้ว-คูลู ดูน่าชม

เอื้องเขาแกะ นามกระเดื่อง เหลืองโคราช
งามวิลาศ ชมพูไพร ใจสุขสมเพชรหึง ว่านดิน สินอุดม สามปอยก้ม หอมซึ้ง ตราตรึงใจ

แววมยุรา ช้างน้าว เอื้องข้าวตอก ชวนเย้ายอก ลิ้นดำ คำปากไก่

ไอยเรศ เสือเหลือง อีกเอื้องไตร ฮ่อมเขาใหญ่ สำเภางาม ตรียัมปวาย

มือชะนี เอื้องสีลา จำปาน่าน พระวิหาร เข็มแดง-ขาว ยาวสุดสาย

แดงอุบล เหลืองกาญจน์ บานเรียงราย ดอกนางตาย เอื้องเงินบาน ว่านไหมนา

อินทนนท์ ปราจีณเหลือง เอื้องไผ่ใต้ อีกม่อนไข่ ดอกเป็นรวง ม่วงสงขลา

เหลืองกระบี่ เหลืองตรัง เหลืองพังงา เอื้องฟันปลา เอื้องผึ้ง-คำ ว่านน้ำทอง

มัจฉานุ ช้างดำ เอื้องน้ำเต้า ดอกเสลา เอื้องครั่งไซร้ ไม่เป็นสอง

กระเป๋าปิด หอมหนักหนา น่าเมียงมอง คิดหมายปอง หวายแดง หางแมงเงา

กระเป๋าเปิด เปิดออก ดอกหอมหวน แสนเย้ายวน เอื้องโมก ไม่โศกเศร้า

เหลืองอุดร เหลืองเลยโผล่ สิงโตเคราฯ
งูเขียวเถา ลือลั่น เหลืองจันทบูรลำนำชื่อ มาให้เห็น เป็นตัวอย่าง มีหลายหลาก รักษาไว้ อย่าให้สูญ

กล้วยไม้งาม ค่าเลิศล้ำ เจิดจำรูญ ร่วมเกื้อกูล พรรณไม้ไทย ให้นิรันดร์

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Khongsaksti

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

ลอดช่องสิงคโปร ์ความจริงเป็นของใคร

WORLD: รู้ไหม CNN ก็เคย ‘เข้าใจผิด’
ว่า ‘ลอดช่อง’ เป็นของสิงคโปร์
แต่จริงๆ แล้วถ้าลอดช่องไม่ใช่ของสิงคโปร์
แล้วมันจะเป็นของใครล่ะ?
.
ตอนเด็กๆ เราคงได้ยินคำว่า ‘ลอดช่องสิงคโปร์’ กัน ซึ่งหลายคนโตมาก็คงรู้ว่าที่เรียก ‘ลอดช่องสิงคโปร์’ นั้นมาจากลอดช่องเจ้าดังที่หน้า ‘โรงหนังสิงคโปร์’ ในสมัยก่อนโน้น ดังนั้นคนไทยจึงเรียกลอดช่องชนิดนี้กันติดปากว่า ‘ลอดช่องสิงคโปร์’
.
แต่การเข้าใจว่าไทยเป็นชาติเดียวที่กินขนมชนิดนี้ก็ผิดอีก เพราะมันเป็นขนมที่พบทั่วไปในภูมิภาคอาเซียน โดย ‘คำกลาง’ ที่เขาใช้เรียกในภาษาอังกฤษคือ ‘เซนดอล’ (cendol) และคนในกลุ่มชาติอาเซียนก็ถือว่าเป็น ‘สมบัติร่วม’ กัน โดยในเว็บ TasteAtlas ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นของชนชาติไหน บอกแค่ว่าเป็นของทั้ง SEA เพราะกินกันแทบทุกประเทศ (ยกเว้นฟิลิปปินส์)
.
อย่างไรก็ดี ในปี 2018 ทาง CNN ได้มีการจัดอันดับขนมยอดเยี่ยม และเซนดอลก็ติดโผไปด้วย โดย CNN นั้นแม้จะมีการแบ่งรับแบ่งสู้ว่านี่คือขนมที่กินกันทั่ว SEA แต่ก็ดันไปบอกว่าเวอร์ชันสิงคโปร์อร่อยสุด และนั่นทำให้ชาวเน็ตในมาเลเซียพากันโวยวายเป็นอย่างมาก เพราะคนมาเลย์คิดว่าของตัวเองอร่อยกว่า (ส่วนชาวเน็ตไทยคงไม่รู้เรื่อง ไม่อย่างนั้นคงไปร่วมเถียงว่า ‘ลอดช่องวัดเจษฯ’ อร่อยกว่า อะไรแบบนั้น และชาวเน็ตกัมพูชาก็อาจพยายามเคลมด้วยว่ามีการบันทึกเรื่องลอดช่องมาตั้งแต่สมัยนครวัด)
.
แต่จริงๆ แล้ว ‘ขนมลอดช่อง’ มาจากไหน? ถ้าให้ตอบสั้นๆ เขาสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากประเทศที่แทบไม่เคยพยายามเคลมขนมชนิดนี้เลย อย่าง ‘อินโดนีเซีย’ เพราะอย่างน้อยๆ คำว่า เซนดอล ที่เป็นคำกลางในปัจจุบันก็มีการบันทึกว่าถูกใช้ในอินโดนีเซียมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว หรือคำนี้จะเกิดในอินโดนีเซียก่อนประเทศอื่นๆ
.
หรือถ้าจะเอาแบบซีเรียส ก็จะมีการบันทึกว่ามี ‘เครื่องดื่ม’ หน้าตาแบบลอดช่องในเกาะชวาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แล้ว (ซึ่งนั่นคือก่อนที่จะตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาในศตวรรษที่ 14) โดยสมัยนั้นเรียกกันว่า ดาเวต (dawet) และจริงๆ คำว่าดาเวตนี้ก็ยังเป็นคำที่ใช้เรียกลอดช่องในชวามาจนถึงปัจจุบัน โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมของอินโดนั้นมีการแยก จารีตการทำลอดช่องของชวาออกเป็น 5 แบบด้วยซ้ำ และน่าจะเรียกได้ว่าเป็นการแบ่งลอดช่องที่ซับซ้อนที่สุดแล้วในโลก ซึ่งการแบ่งแยกย่อยละเอียดเช่นนี้ โดยทั่วไปเขาก็ถือกันว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมที่เป็น ‘แหล่งกำเนิด’ ได้แล้ว
.
แต่ประเด็นก็คือ ‘คนแถบนี้’ กินขนมหน้าตาแบบลอดช่องมากว่า 900 ปีแล้ว ก่อนที่ ‘ประเทศ’ ใดๆ ในแถบนี้จะเกิดตามมา
.
ดังนั้นการมาเถียงกันว่า ‘ลอดช่อง’ เป็นของชนชาติไหนมาก่อน มันจึงเป็นเรื่องตลก เพราะขนมเส้นรูปร่างเหมือนหนอนที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมใบเตย และกินกับน้ำกะทิและน้ำตาลมะพร้าวนี้ มันมีอายุเก่าแก่ยิ่งกว่าประเทศชาติต่างๆ ที่พยายามจะเคลมความเป็นเจ้าของมันเสียอีก

ข้อเขียนจาก Messnger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

บิโกหมอย เมนูอร่่อยของชาวฮกเกี้ยน

…มารู้จัก”บีโกหมอย” เมนูอาหาร(ขนม)คนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนซะหน่อยโดยเฉพาะคนที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย

…ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยทั่วไปจะเรียกว่า “เปียกข้าวเหนียวดำ” ทำมาจากข้าวเหนียวดำ(บ้างปนข้าวเหนียวขาว อาจมีเผือกมีแห้ว)ต้มกับน้ำตาลจนข้น ได้รสหวานสัมผัสกรุบกรับจากผิวข้าว และราดด้วยกะทิรสเค็มๆตัดรสกินเพลินๆใช่มั้ย

…แต่สำหรับคนไทยเชื้ออสายจีนแต้จิ๋วแบบบ้านตี๋เรียกเมนูนี้ว่า “โอวจุ๊ก 乌糯” ที่มาจากคำว่า “ข้าวเหนียวดำ” บางทีก็เติม “ม้วย 糜” ปิดท้าย เป็น “โอวจุกม้วย 乌糯米糜”
..หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเมนูเปียกข้าวเหนียวดำเป็นเมนูวัฒนธรรมร่วมในอาเซียนที่รับอิทธิพลมาจาก “โจ๊กหวาน 甜粥” ของจีน
…สำหรับชาวจีนฮกเกี้ยนในรุ่นอดีตจะเรียกเมนู “โจ๊กหวาน” ว่า “米糕糜 บี๋กอหมอย/บี๋กอโหมย” หรือบางทีก็ผันเสียงมาเป็น “บีโกหมอย” ซึ่งรวมไปถึงการเรียกเมนูเปียกข้าวเหนียวดำแบบนี้ แต่ความหมายดั้งเดิมไม่เจาะจงแค่ข้าวเหนียวดำ

…ถ้าเป็นแต้จิ๋วจะอ่าน 米糕糜 บีโกหมอย ว่า “บี่กอม้วย” 糜 ม้วยที่แปลว่า “ข้าวต้ม”

…อย่างในมาเลเซีย…ถ้าเป็นจีนมาเลย์จะเรียกเมนูนี้ว่า Bi koh moy หรือถ้าเป็นมลายูจะเรียกว่า Bubur pulut hitam
…ปัจจุบันเมนูนี้ถ้าเขียนเป็นภาษาจีนกลางมักจะเขียนด้วยคำว่า 黑糯米粥 เป็นคำสากลไป ยกเว้นร้านโบราณๆที่คงความภาษาถิ่นไว้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมที่ภูเก็ตถึงมีเมนู “บีโกหมอย” เมนูวัดความคิดดีของแต่ละคน

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Klongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

นาฬิกาพก “สมาน”

นาฬิกาพก “สมาน” จดลิขสิทธิ์ปี 2463

ถูกจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2463 มีการเสียค่าธรรมเนียม 1 ปอนด์และมีการจัดสร้างนาฬิกาาโดยห้าง S Smith & Son (Siam) ที่กรุงลอนดอนเพื่อมาจำหน่ายในกรุงเทพ

นาฬิกานี้ดีอย่างไร คือ มีจุดประสงค์เพื่อบอกเวลาแบบไทยๆ ได้อย่างคล่องตัว กล่าวคือเพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการบอกเวลากลางวัน-กลางคืน โดยออกแบบให้การบอกเวลากลางวันจะให้อ่านตัวเลข 6 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา

ส่วนเวลากลางคืนซึ่งเป็นหน้าปัทม์สีดำให้เริ่มอ่านเวลา 18 นาฬิกาถึง 5 นาฬิกา (ตี 5)

เหตุคือเมื่อคราวตามเสด็จ พลเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน (ผู้บัญชาการรถไฟ) เสด็จยุโรป อเมริกและพม่า โดยข้าพเจ้าไปส่งเสด็จที่สถานีรถไฟสายเหนือ ณ กรุงปารีส พระองค์รับสั่งให้รถยนต์มารับที่สถานีเวลา 20 นาฬิกา จะเป็นด้วยสถานีรถไฟฝรั่งเศสเสียงดังจึงฟ้งไม่ถนัด เข้าใจว่า 10 นาฬิกาหลังเที่ยง ทำให้พระองค์ต่อว่าข้าพเจ้าเมื่อมาถึง

ทำให้ข้าพเจ้าครุ่นคิดอยู่นานจึงได้ออกแบบหน้าปัทม์เพื่อให้ดูสะดวกในการอ่านเวลากลางวัน-กลางคืนและจดลิขสิทธิ์ไว้ดังกล่าวมา
+++

ทั้งนี้ยังตอบโจทย์ที่ว่าคนไทยสมัย 2463 ถือว่าเวลาเช้าให้เริ่มนับตั้งแต่ย่ำรุ่ง คือ 6 นาฬิกาเป็นเวลาเช้าเปลี่ยนวันใหม่ แต่ของฝรั่งถือว่าหลังเที่ยงคืนเริ่มเช้าวันใหม่

ข้อเขียนจาก Messnger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

เต้าส่วน…ทำไมจึงชื่อ เต้าส่วน

เต้าส่วน…ทำไมถึงชื่อเต้าส่วน?
.
เต้าส่วน ขนมที่ประกอบไปด้วยถั่วเขียวซีกที่จับตัวกับแป้ง แล้วราดด้วยน้ำกะทิ รสชาติหวานนิดๆ ถั่วนุ่มๆ กินกับกะทิเค็มมัน เรียกได้ว่าเป็นขนมหวานที่ทำง่ายๆ แต่อร่อยอย่าบอกใคร
.
หลายคนอาจจะสงสัยว่าชื่อ “เต้าส่วน” นั้นมาจากอะไร คำว่าส่วนนั้นหมายถึงส่วนไหน เดี๋ยววันนี้จานโปรดจะมาไขข้อข้องใจให้ฟัง
.
เต้าส่วน ไม่ใช่ภาษาไทย แต่เพี้ยนมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว คือคำว่า “เต่าส่วง” (豆爽)
.
คำว่า เต่า (豆) แปลว่า ถั่ว
คำว่า ส่วง (爽) มาจากคำว่า ส้วงฮุ้ง (爽粉) ซึ่งหมายถึงการใส่แป้งลงไปละลายในน้ำเพื่อให้เหนียวข้น
.
เต่าส่วง (豆爽) จึงหมายถึงขนมที่ทำมาจากถั่วเแล้วใส่แป้งลงไปให้จับตัวกัน
.
เต้าส่วนเป็นขนมที่มีต้นกำเนิดจากชาวจีน เดิมทีจะนิยมกินคู่กับปาท่องโก๋ ซึ่งในปัจจุบันวิธีการกินแบบดั้งเดิมนี้ยังพบได้ในประเทศสิงคโปร์ แต่คาดว่าเมื่อเต้าส่วนแพร่หลายเข้ามาในไทย ดินแดนที่ขนมหวานมักจะต้องมาคู่กับกะทิ จึงมีการประยุกต์ราดกะทิลงบนขนมเต้าส่วนเพื่อให้รสชาติมีมิติ หวานตัดเค็มอร่อยอย่างลงตัวยิ่งขึ้น

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Klongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

ตำนานเปรตวัดสุทัศน์

…ตำนานเปรตวัดสุทัศน์…
…มีเรื่องเล่ากันจากปากต่อปากว่า ในอดีตที่บริเวณหน้าพระวิหารหลวงนี้ มีผู้พบเห็นเปรตในเวลาค่ำคืนบ่อย ๆ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ยังเคยเปรยกับเปรต ความว่า “อยู่ด้วยกันนะ อย่าให้ชาวบ้านได้เดือดร้อน” จากนั้นเปรตก็ไม่มาปรากฏอีก
แน่นอนว่าต้องมีคนคุ้นหูกับ ตำนานเปรตวัดสุทัศน์ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า วัดสุทัศนเทพวราราม เคยมีเปรตจริงหรือไม่ เพราะเป็นเพียงความเชื่อและข้อสันนิษฐานจากเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาตั้งแต่ในอดีตเท่านั้น ด้วยมีคนเชื่อว่าเคยเห็นเปรตในบริเวณวัดสุทัศน์ในยามค่ำคืน แต่แท้จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเปรตนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ภายในพระวิหารก็ยังมีเสาต้นหนึ่ง ใกล้ๆ กับองค์ พระศรีศากยมุนี ปรากฏให้เห็นภาพจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมากในอดีต คือภาพของเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายโดยมีพระสงฆ์ยืนพิจรณาสังขาร ซึ่งเป็นไปได้ว่า ภาพนี้อาจเป็นที่มาของ “เปรตวัดสุทัศน์” ก็เป็นได้

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Khongsaksti

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

โมฮิงกา เมนูโอชาของเมียนมาร์

“โมฮิงกา” เมนูสุดโอชาจากลุ่มแม่น้ำอิรวดี
.
ถ้าพูดถึง “เมียนมาร์” หรือ “พม่า” คนไทยจะนึกถึงอะไร? บางคนอาจจะนึกถึงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และรุ่งเรืองเป็นอันดับต้น ๆ ในอดีต บางคนอาจจะนึกถึงเรื่องราวของชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยปัจจุบัน บางคนอาจจะนึกถึงวัฒนธรรมที่เหนียวแน่นเกี่ยวกับศาสนาพุทธ บางคนอาจจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของพม่าอย่างทานาคา แต่สำหรับจานโปรดแล้ว
.
แน่นอนว่าเราก็ต้องนึกถึงอาหาร แต่อาหารพม่าอะไรที่พอจะเข้ามาอยู่ในความคิดของคนไทยบ้างล่ะ? อาหารพม่าอย่างแรกที่แว็บเข้ามาในความคิดของผู้เขียนคืออาหารจานหนึ่งที่มีนามว่า “โมฮิงกา”
.
“โมฮิงกา” หรือถ้าจะให้อธิบายเป็นภาษาไทยก็คงเป็น “ขนมจีนน้ำยาปลาของชาวพม่า” ก็คงไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก โดยโมฮิงกานับว่าเป็นอีกหนึ่งอาหารยอดนิยมที่ชาวพม่ากินกันจนอาจจะบอกว่าเป็นอาหารประจำชาติเลยก็ว่าได้ โดยปกติแล้วมักจะนิยมเสิร์ฟเป็นอาหารเช้า (แต่ก็กินได้ทั้งวันนะ)
.
ถ้าพูดถึงที่มาของโมฮิงกา ก็ต้องยอมรับว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดเท่าไหร่ว่ามีมานานแค่ไหน บางก็ว่าเกิดมาตั้งแต่สมัยปยู โดยรับเอามาวัฒนธรรมอาหารเส้นจากจีน และวัฒนธรรมแกงจากอินเดีย แต่ก็มีบันทึกปรากฏอยู่ในกวีนิพนธ์ของ อู โบน ญา กวีชื่อดังในสมัยราชวงศ์คองบอง โดยเชื่อว่าเป็นอาหารธรรมดา ๆ ของสามัญชนผู้ยากไร้ เพราะไม่มีการบันทึกสูตรโมฮิงกาในสูตรอาหารของหลวงเลย
.
โมฮิงกาในยุคแรกเริ่มนั้นเป็นอาหารราคาประหยัด ไม่ค่อยใส่เนื้อลงไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นอาหารของผู้ยากไร้ไปช่วงหนึ่งก่อนที่ในยุคปัจจุบันจะมีการปรับปรุงมากขึ้น มีการใส่เนื้อมากขึ้น นอกจากนี้ ด้วยความที่พม่าเป็นอีกหนึ่งสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งชาวพม่า ชาวมอญ และชาวไทใหญ่ รวมอยู่ด้วยกัน
.
ทำให้ในแต่ละวัฒนธรรมก็มีสูตรโมฮิงกาและวิธีการทำที่หลากหลายต่างกันไป ซึ่งความหลากหลายนี้เองที่ทำให้โมฮิงกาอร่อย หลากหลาย ใครกินก็ได้ไม่มีแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนเรื่อยมา ทำให้โมฮิงกาไม่ใช่เพียงแค่อาหารของคนยากไร้เท่านั้น แต่กลายมาเป็นอีกหนึ่งอาหารจานโปรด ของใครหลาย ๆ คน จากหลากหลายชนชั้นและสัญชาติ

ข้อเขียนจาก Messenger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล

เต้าหู้ขึ้นรา

‘เต้าหู้ขึ้นรา’ อาหารจีนที่กำลังเป็นกระแสในไทย
.
“เต้าหู้ขน” หรือ “เต้าหู้รา” เป็นอาหารจีนดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ถู่เจีย ในเขตเฉียนเจียงของเทศบาลนครฉงชิ่ง ชาวบ้านจะเริ่มทำเต้าหู้ขนในช่วงฤดูหนาว โดยการทิ้งเต้าหู้ที่ตัดเป็นก้อนไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เชื้อราที่มีลักษณะคล้ายขนสีขาวปรากฏขึ้นบนเต้าหู้ แล้วนำไปคลุกกับพริกเพื่อรับประทาน
.
ปัจจุบัน “เต้าหู้ขน” ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมของคนจีนทั่วไป โดยเฉพาะชาวท้องถิ่นในเขตฮุ่ยโจว เมืองหวงซาน ณ มณฑลอานฮุย คนจีนหลายคนเห็นว่าเต้าหู้ขนมีรสชาติดีที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว
.
แม้ว่าช่วงนี้คนไทยหลายคนอาจเพึ่งรู้จักเต้าหู้ขนเป็นครั้งแรก แต่ในจีนได้มีการบันทึกว่าเต้าหู้ขนนั้นมีประวัติคู่เมืองจีนยาวนานนับหลายร้อยปี ทั้งยังมีผู้สืบทอดการทำอาหารชนิดนี้จวบจนปัจจุบัน

จากข้อเขียน Messenger:Wichien Khongsaksri

ใส่ความเห็น

Filed under ครอบจักรวาล